โรงพยาบาลเปือยน้อย จ.ขอนแก่น

ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเปือยน้อย
จังหวัดขอนแก่น ( ปี 2566-2569 )

ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ( ปี 2565-2568 )

วิสัยทัศน์

เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่มีคุณภาพและปลอดภัย ผู้รับบริการพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุข

พันธกิจ

  1. บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน และปลอดภัยในการเข้ารับบริการ

  2. สนับสนุนความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่

  3. พัฒนาบุคลากร มีสุขภาพ คุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขและมีความปลอดภัยในการทำงาน 

  4. บริการด้วยความทันสมัย มีธรรมาภิบาล และมีความมั่นคงทางการเงิน

ค่านิยมร่วม (Share Value) “PNH”

P

(People centered)
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

N

(Networking)
การสร้างเครือข่าย

H

(Happy Teamwork)
ทีมงานแห่งความสุข

เป้าหมาย

  1. บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพสภาพ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความปลอดภัยและมีความพึงพอใจ
  2. ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการด้านสุขภาพ
  3. บุคลากรมีสมรรถนะและเพียงพอ สุขภาวะดีและมีความปลอดภัยและมีความสุขในการทำงาน
  4. โรงพยาบาลมีความทันสมัย มีธรรมาภิบาล และมีความมั่นคงทางการเงิน

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. พัฒนาคุณภาพบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ ให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
  2. โรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ได้รับการจัดการอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. สนับสนุนการให้บริการตามมาตรฐานที่จำเป็นต่อความปลอดภัยของโรงพยาบาล
  4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพ
  5. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและเพียงพอ มีความปลอดภัยและความสุขในการทำงาน
  6. พัฒนาระบบบริการให้มีความทันสมัย และมีธรรมาภิบาล
  7. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง สร้างความมั่นคงทางการเงิน

เป้าประสงค์

  1. ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ครอบคลุม ตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชน
  3. ประชาชนได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลและการส่งต่อที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
  4. ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพ ได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน
  5. โรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ผู้รับบริการ มีความปลอดภัยจากการบริการตามมาตรฐานที่จำเป็นต่อความปลอดภัยของโรงพยาบาล
  7. ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพทุกกลุ่มวัยได้อย่างครอบคลุมและเป็นไปตามเกณฑ์
  8. บุคลากรมีความเพียงพอ มีสมรรถนะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
  9. บุคลากรความปลอดภัย มีสุขภาวะที่ดี และมีความสุขในการทำงาน
  10. มีระบบบริการที่ทันสมัย ผู้รับบริการสะดวก สบายในการมาใช้บริการ
  11. โรงพยาบาลมีความมั่นคงทางการเงิน
  12.